บ้านคอทเทจหลังเล็ก
แบบบ้าน

บ้านคอทเทจหลังเล็ก

บ้านคอทเทจหลังเล็ก บ้านสไตล์คอทเทจ อยู่ในใจทุกคนอย่างแน่นอน เพราะบ้านสไตล์คอทเทจนี้ เรามักจะได้เห็นผ่านตาตามภาพยนตร์ ซีรีส์ หรือภาพถ่ายที่มาจาก ฝั่งยุโรปอย่างประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศที่เต็ม ไปด้วยอารยธรรม และผลงานงานการออกแบบมากมาย ซึ่งจริง ๆ แล้วบ้านสไตล์คอทเทจนั้น ไม่มีลักษณะเฉพาะ บางหลังอาจมีขนาด เล็กชั้นเดียว หรือบางหลังก็มีขนาดใหญ่และหลายห้อง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะ เน้นใช้วัสดุที่หาได้ ง่ายในท้องถิ่น

บ้านคอทเทจหลังเล็ก

บ้านสไตล์คอทเทจ คือบ้านที่ใช้การตกแต่ง แบบคันทรีในฝั่งตะวันตก สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้า กับสไตล์อื่นได้ไม่ยาก เพราะมีความเป็นธรรมชาติ อยู่ในตัวค่อนข้างสูงจากวัสดุ ที่เลือกใช้ในการสร้าง เช่น เปลือกไม้ หิน ไม่ว่าจะเป็นของจริงจากธรรมชาติหรือของเทียมที่อาจ มีราคาถูกกว่า ผสมการตกแต่งอื่น ๆ ด้วยวัสดุที่เป็นของเก่า เพื่อให้ลงตัวกับองค์ประกอบโดยรวมของบ้าน ซึ่งบ้านสไตล์คอทเทจนี้ สามารถสร้างความรู้สึกผ่อนคลาย ให้กับผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี

ในประเทศไทยแบบบ้านคอทเทจ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วยสไตล์คอทเทจ สามารถปรับเปลี่ยนใช้วัสดุในธรรมชาติที่หาได้ง่าย ในประเทศไทยเลยไม่ เป็นปัญหาในด้านการก่อสร้าง แต่อาจจะปรับแบบจากต่าง ประเทศนิดหน่อย เช่น ต่างประเทศจะมีเตาผิงไฟ สำหรับหน้าหนาวแต่บ้านเรา ไม่จำเป็นต้องใช้ หรือวัสดุต่าง ๆ ที่ไม่มีในไทยก็สามารถใช้วัสดุ อย่างอื่นแทนได้

แบบบ้านคอทเทจโมเดิร์น น่ารักๆ

 บ้านคอทเทจหลังเล็ก

ถ้าให้เด็ก ๆ วาดรูปบ้าน คิดว่าหนึ่งในรูปแบบที่ต้องมีคง เป็นบ้านรูปทรงสี่เหลี่ยม มีหลังคาสามเหลี่ยม วางอยู่ข้างบน ส่วนห้องนั่งเล่นจะขยับออกมาข้าง ๆ ซึ่งเป็นแบบบ้านสไตล์คลาสสิค ที่เราจะพบเห็นได้บ่อยในแบบฝึกระบายสี นิทานในฝั่งซีกโลกตะวันตก

ปัจจุบันบ้านแบบนี้ก็ยังมีให้เห็นบ้าง แต่ก็น้อยลงเพราะถูกแทนที่ ด้วยบ้านโมเดิร์นแบบอื่น ๆ ไปมาก แต่เชื่อว่าบางคนยังประทับใจในความรู้สึกของบ้าน ที่ดูโฮมมี่แบบนั้น ในประเทศแคนาดาก็มีการออกแบบบ้าน ที่ผสมผสานระหว่างคุณลักษณะแบบเก่า และรูปแบบความสะดวกสบายที่ทันสมัยแบบ “2 in 1” บ้านเดี่ยว สำหรับใครที่ยังประทับใจบ้านในนิทานที่ดูทันสมัยขึ้น บ้านหลังนี้คงตอบโจทย์ได้ดี

บ้านสองชั้นหลังนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่เติมทั่วไปในชุมชน Leaside เมืองโตรอนโต รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งมีบ้านสไตล์คลาสสิคหลังคาจั่วสูงให้เห็นอยู่ทั่วไป แต่ในแคนาดาเองก็เหมือนประเทศอื่น ๆ ที่บ้านยุคเก่าก็จะดูไม่อินเทรนด์ Studio JCI

จึงออกแบบที่อยู่อาศัย ต้นแบบสำหรับครอบครัวเดี่ยว ที่มีแรงบันดาลใจมาจาก บ้านดั้งเดิมแต่ลดทอนรายละเอียดให้เหลือเส้นสายเรียบ ๆ เลือกใช้วัสดุตกแต่งผนัง และหลังคาใหม่ๆ ที่ยังให้อารมณ์ความเป็นธรรมชาติ เช่น แผ่นหินและไม้ซีดาร์

ภายในออกแบบตกแต่งสไตล์โมเดิร์น ที่เน้นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ เพื่อเพิ่มความกว้าง ของบ้านอย่างเต็มที่ โดยสร้างห้องหลักขนาดใหญ่บริเวณ ชั้นล่างที่ทำแผนผังชั้นแบบเปิด (Open Plan) ไม่มีผนังทึบแบ่งกั้นระหว่าง พื้นที่นั่งเล่น/รับประทานอาหารที่อยู่ด้านหน้า

 บ้านคอทเทจหลังเล็ก

ส่วนห้องแฟมิลี่และห้องครัวจ ะไหลไปอยู่ด้านหลังติดกับสวน สถาปนิกใช้วิธีการทำพื้นที่ ต่างระดับในส่วนตัว เป็นตัวบ่งบอกการเปลี่ยนฟังก์ชัน จากห้องนั่งเล่นมาที่ครัว โดยไม่ต้องมีผนังห้องกั้นเหมือนแต่ก่อน ทำให้มิติของพื้นที่และการใช้งานเป็นไปอย่างต่อเนื่องลื่นไหล การเดินทางของแสง และลมก็ทำได้ดีขึ้นเช่นกัน

การใช้งานไม้สีเข้มและรูปทรงของ หน้าต่างที่ล้อไปกับจั่วบ้านในห้องนอน เป็นองค์ประกอบที่ยังคงกลิ่นอายให้ระลึกถึงบ้านคอทเทจ ของแคนาดา ที่นิยมในยุคสมัยหนึ่ง มาในปัจจุบันนี้สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่มาได้ แต่ก็ต้องมีการปรับดีไซน์และฟังก์ชัน เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งาน และสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปด้วย

ส่วนที่พิเศษอยู่ด้านหลัง ที่จะเปิดมากกว่าด้านหน้า หากเป็นรูปแบบบ้านเดิม ๆ เราจะพบว่าผนังบ้านจะมีช่องแสงสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ เรียงรายรอบบ้าน เพราะต้องรักษาอุณหภูมิภายในบ้านช่วง ฤดูหนาวที่หนาวจัด และให้เปิดรับลมระบายอากาศได้ในฤดูร้อนที่จะมีอุณหภูมิระหว่าง 15-30 องศาเซลเซียส แต่บ้านนี้ออกแบบช่องเปิดใหม่ ให้มีส่วนร่วมกับไซต์ด้วยประตูกระจกบานเลื่อนขนาดใหญ่ยาว 4.2 เมตรที่ด้านหลัง ที่ช่วยขยายพื้นที่ใช้สอย ไปยังชานบ้านให้ใช้งานได้สบาย ๆ ในเดือนที่อากาศอบอุ่น

ภายนอกบ้านอาจจะคงความคลาสสิคเอาไว้ แต่การออกแบบแปลนภายใน สามารถนำแนวคิดแบบโมเดิร์นมารวมด้วยกันได้ เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ในบ้านแบบเดิม ๆ เราจะพบว่าห้องในส่วนต่าง ๆ ของบ้านนิยมทำผนังปิดทึบสี่ด้าน มีประตูหน้าต่างช่วยระบายอากาศ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้บ้านเป็นสัดส่วน

แต่ในทางกลับกันผนังก็กลับเป็นอุปสรรค ในการเข้าถึงกัน และยังเพิ่มงบประมาณ ในการก่อสร้างด้วย บ้านยุคใหม่จึงเลือกที่จะรวมฟังก์ชัน ที่ใช้ด้วยกันได้เอาไว้ในห้องใหญ่เดียว เช่น ห้องนั่งเล่น รับแขก ห้องทานอาหาร และครัวเบา โดยใช้วิธีเล่นระดับ การใช้วัสดุปูพื้นที่ต่างกัน หรือใส่พาร์ทิชัน เป็นตัวบ่งบอกฟังก์ชันที่เปลี่ยน ไปแบบไม่ต้องทำผนังกั้น

แบบบ้านคอทเทจชั้นเดียว เส้นสายง่าย ๆ เป็นอยู่อย่างสบาย ๆ

แบบบ้านคอทเทจชั้นเดียว เส้นสายง่าย ๆ เป็นอยู่อย่างสบาย ๆ

เส้นสายที่เรียบง่ายบริสุทธิ์เมื่อตอนยังเป็นเด็ก บ้านที่วาดมักไม่มีอะไรมากไปกว่า ตัวบ้านที่เป็นหลังคาทรงจั่ว ประตูและหน้าต่างหนึ่งบาน อาจวาดรูปต้นไม้ พ่อ แม่ สัตว์เลี้ยง รวมไปถึงนกที่บินผ่าน และแบล็คกราวน์ด้านหลังก็เป็นภูเขาสองลูกที่อยู่ไกล ๆ

บ้านหลังนี้มีหน้าตาเหมือนกับในภาพความทรงจำที่เราหลับตานึกทุกประการ ตั้งอิงแอบอยู่ในบริเวณเทือกเขาแอลป์ ประเทศสโลวาเนีย เป็นเขตอนุรักษ์ของอุทยานที่มีอายุมายาวนาน เมื่อถึงครั้งจะปรับปรุงบ้าน สถาปนิกได้เลือกที่จะนำเส้นสายง่าย ๆ ของบ้านที่เคยวาดในวัยเด็กมาปรับประยุกต์ให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในชีวิตจริง

เดิมทีบ้านหลังนี้คือโรงซ่อมรถเก่า ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปทรงของโครงสร้างหลังคาใหม่ให้กลายเป็นทรงจั่ว เพื่อให้สอดรับกับทัศนียภาพของเทือกเขาแอลป์ที่งดงามและยังเอื้อให้เกิดการดึงธรรมชาติอย่างแสงและลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และด้วยเหตุผลทางด้านกฎหมายของบ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์

ทำให้เกิดข้อจำกัดในการออกแบบที่ต้องสอดคล้องกับบ้านข้างเคียงและอยู่ในรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ได้กำหนดไว้ แทนที่จะปรับปรุงเป็นบ้านโมเดิร์นที่จัดจ้าน จึงได้ปรับให้เป็นบ้านคอทเทจที่อ่อนหวานละไมแทน

ความน่าสนใจที่ทำให้บ้านหน้าตาแสนเรียบง่ายนี้ดูแตกต่างและฉูดฉาดขึ้นมา คือการออกแบบหลังคาให้มีชายคายื่นออกมาคล้ายโรงนาในชนบท โดยทั้งสองข้างของบ้าน หลังคาที่ลาดยาวลงมาจะช่วยในการปกป้องบ้านจากแสงแดดในทิศเหนือและทิศใต้ ปูทับหลังคาด้วยกระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์สีเทาซึ่งเป็นสีทึบให้ความอบอุ่นและลดความร้อนภายในตัวบ้าน และปกคลุมผนังเปลือกนอกด้วยปูนที่ฉาบสีขาว

ภายในยังคงความ อ่อนละมุนต่อเนื่องจาก ภายนอกด้วยการตกแต่งด้วยวัสดุไม้เป็นหลัก ทั้งการปูพื้นผิว ผนัง และเฟอร์นิเจอร์ ไม้ที่นำมาใช้เป็นไม้สนพื้นเมือง ซึ่งเป็นการนำเอาวัฒนธรรม และรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมาปรับใช้ นอกจากไม้แล้ว ยังมีผนังคอนกรีตที่ใช้เพื่อปิด ซ่อนบันไดที่ให้พื้นที่แก่เตาผิง

ภายในยังคงความ อ่อนละมุน

แบ่งผังบ้านอย่างไม่ยุ่งยาก เน้นการตกแต่งที่ใช้เฟอร์นิเจอร์นน้อยชิ้น โดยการรวมส่วนบริการทั้งห้องนั่งเล่น ทานอาหาร และครัวในส่วนเดียวกัน ก่อนจะขึ้นขึ้นบนเพื่อไปสู่โซนส่วนตัว โดยบันไดที่อยู่บริเวณตรงกลางบ้าน

พาดผ่านบันไดขึ้นมาถึงชั้นสอง เพดานจะลาดลงมาทำให้เหมือนโรงนา หรือห้องใต้บันได ด้วยเหตุผลที่เพดานมีความต่ำอยู่แล้วจึงไม่เน้นการจัดวางข้าวของเครื่องใช้และเฟอร์นิเจอร์ที่เยอะเกินไป ห้องนอนมีเพียงแค่เตียงสีขาวสะอาด

ปราศจากผนัง และถูกกั้นส่วนด้วยตู้เสื้อผ้า ปลายสุดของชั้นสองเป็นมุมระเบียงเล็กๆ มองเห็นวิวเทือกเขาแอลป์อยู่ไกลๆ โดยช่องของประตู และหน้าต่างของชั้นสองจะช่วยให้ การพัดพาให้อากาศไหลเวียนได้สะดวก แม้เพดานต่ำและมีช่องหน้าต่างไม่มาก

ห้องน้ำตกแต่งสีขาวบริสุทธิ์ และมีการเพิ่มช่องหน้าต่างเพื่อ เพิ่มแสงสว่างให้กับเพดานต่ำ บวกกับการจัดวางสุขภัณฑ์ที่เข้าเหลี่ยมมุมได้ลงตัว ทำให้ประหยัดพื้นที่ภายในห้อง และสร้างบรรยากาศที่โล่งกว้าง ต่อมุมมองทางสายตา

โดยรวมแล้ว บ้านสไตล์คอทเทจ จึงถือเป็นการตกแต่งที่ไม่ได้มีดีเทลที่ยุ่งยากนัก เพราะมีสไตล์การตกแต่งที่ไม่ตายตัว อาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่แล้วแต่ความชอบและข้อจำกัดของผู้อยู่อาศัย แต่ที่เหมือนกันเลยก็คือจะเน้นใช้วัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุที่หาได้ง่ายพร้อมใช้งาน และให้ความรู้สึกผ่อนคลายและอบอุ่นทุกครั้งที่ได้อยู่อาศัย