บ้านหลังคาเฉียงสูง
แบบบ้าน,  ไอเดียแต่งบ้าน

บ้านหลังคาเฉียงสูง

บ้านหลังคาเฉียงสูง

บ้านหลังคาเฉียงสูง

บ้านหลังคาเฉียงสูง แบ่งครึ่งใส่หลังคาโปร่งใส เฉียงสูงพรางตาเหมือนบ้านชั้นเดียวเมื่อใครสักคนหนึ่งคิดที่จะสร้างบ้าน แน่นอนว่ากว่าจะจบมาเป็นบ้านหนึ่งหลังเราอาจได้รับอิทธิพลจากหลายสิ่งหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ การออกแบบ หรือรูปร่างลักษณะที่ดินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรมและนิสัยในวัยเด็กด้วย

บางคนอาจจะชอบบ้านที่มีกลิ่นอายของความเป็นพื้นถิ่น หรืออยากให้มีองค์ประกอบบางอย่างที่มองดูแล้วนึกถึงความทรงจำที่สวยงามในวัยเด็ก แต่ปรับประยุกต์ให้เข้ากับการใช้ชีวิตใหม่ๆ เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ในอินโดนีเซียก็เป็นบ้านหนึ่งหลังที่ได้รับแรงบันดาลใจบางอย่างจากวิถีแบบชาวอินโดนีเซียเช่นเดียวกันครับ

แบบบ้านสองชั้น สวยเนียนเหมือนชั้นเดียว

บ้านหลังคาเฉียงสูง

เจ้าของบ้าน 176 ตารางเมตร ในจาการ์ตาหลังนี้ฝันที่จะมีบ้านที่บรรยากาศอบอุ่นสบายๆ  และมีลานกว้างหน้าบ้านแบบที่เคยใช้เวลาในวัยเด็ก เป็นบ้านชนบทในชวา ซึ่งอาคารพื้นถิ่นของชาวชวาโดยทั่วไปจะแสดงถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวชวา ซึ่งโดดเด่นในเรื่องของความเป็นธรรมชาติ ความอ่อนน้อมถ่อมตน และเรียบง่าย ความต้องการจุดนี้เพียงจุดเดียวนำสถาปนิกสามารถนำมาพัฒนาแนวคิดหลักของบ้าน ตั้งแต่รูปทรงหลังคาไปจนถึงภายใน

สถาปนิกนำแนวคิดที่ว่ามาตีความ โดยออกแบบบ้านให้มีรูปร่างหลังคาเฉียงสูง โดยที่หลังคาจะไหลลู่ต่ำลงมาด้านหน้า รูปทรงของหลังคาและวัสดุโครสร้างเหล็กโชว์แผ่นมุงหลังคาโปร่งใสที่เชื่อมต่อกับโรงรถลงมาถึงประตูเหล็กสีขาว เมื่อมองไกลๆ ทำให้รู้สึกว่าความสูงของอาคารสูงเพียงชั้นเดียวที่เรียบง่าย เป็นวิธีพรางตาซ่อนชั้นสองของบ้านอย่างแยบยล รูปทรงหลังคาต่ำแบบนี้ยังรับประกันได้ว่าโถงทางเข้าจะสร้างความประทับใจที่เป็นกันเอง แต่เต็มไปด้วยความทันสมัย

ความอบอุ่นและความรู้สึกสบายของบ้านหลังนี้ยังมองเห็นได้จากการเลือกใช้วัสดุในอาคาร ซึ่งโดดเด่นด้วยองค์ประกอบโทนสีน้ำตาลและงานไม้  อีกทั้งบรรยากาศยังได้รับการเสริมพลังจากสวนด้านข้างที่สวยงามซึ่งค่อนข้างกว้างขวาง องค์ประกอบทางธรรมชาติทั้งสองนี้ เมื่อมารวมกับการจัดแปลนภายในที่เปิดกว้างและเรียบง่าย เป็นความพยายามของสถาปนิกในการสร้างความทรงจำของเจ้าของบ้านเกี่ยวกับวัยเด็กของพวกเขาขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ยังมีหลังคาโปร่งใส ประตูกระจก ผนังกระจก ทำให้เกิดการเบลอขอบเขตให้ดูเป็นหนึ่งเดียว สร้างการโต้ตอบของพื้นที่ที่ที่มองเห็นได้แม้ว่าจะแยกจากกันโดยพาร์ติชั่นก็ตาม

ในห้องครัวและพื้นที่รับประทานอาหาร มีการจัดบรรยากาศแบบกึ่งกลางแจ้งที่  เติมจุดเด่นให้บ้านด้วยการเปิดผนังได้กว้างเปิดเชื่อมต่อสวน ใส่หลังคาโปร่งใสรับแสงเข้าสู่บ้านจากด้านบน ส่วนพื้นเว้นกรอบพื้นบ้านเอาไว้ไม่ปูกระเบื้อง เพื่อให้เกิดพื้นที่ต่างระดับลึกลงไป จัดวางแผ่นทางเดินล้อมด้วยกรวดสีขาว จำลองทางเดินในสวนมาเก็บไว้ในบ้านจนนึกว่ากำลังอยู่ในสวนกลางแจ้ง แทบไม่มีแยกชัดเจนเหมือนเมื่อก่อนว่าส่วนไหนเป็นสวน ส่วนไหนเป็นบ้าน เพราะทุกอย่างถูกรวมเข้าด้วยกัน การมีอยู่ของสวนทำให้ห้องสว่างขึ้นด้วยแสงธรรมชาติและอากาศที่ไหลผ่านได้สูงสุด

จุดสูงสุดของหลังคาส่วนโปร่งใส แม้จะเป็นบริเวณที่มีองศาลาดเอียงแต่ก็ยังสูงพอที่จะยืนได้ พื้นที่โดยรวมค่อนข้างกว้างขวาง สามารถใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนนั่งเล่นอ่านหนังสือ ชมวิว สังเกตความเปลี่ยนแปลงจากภายนอกโดยที่ไม่ต้องขยับออกจากตัวบ้าน ครบถ้วนความสะดวก สบาย ถ่อมตัว เป็นธรรมชาติแบบที่เจ้าของบ้านอยากได้ปัจจุบันเรามีวัสดุกระเบื้องลอนแบบโปร่งแสง โปร่งใส หรือเมทัลชีทที่มีความใส ความขุ่น ไม่ทึบทุกรุ่นทุกวัสดุเหมือนแต่ก่อน

บ้านหลังคาเฉียงสูง

ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในจุดที่บ้านต้องการนำแสงเข้า ช่วยลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันได้ดี จึงนิยมใช้ทำโรงรถ บางส่วนของครัวหรือห้องน้ำ เป็นต้น  แต่ความสวยในความใสของวัสดุจะมาพร้อมกับความร้อน ยิ่งใสมากแสงก็ผ่านได้มาก บ้านจะร้อนจนอยู่ไม่สบาย ผลคือ อาจประหยัดไฟส่องสว่างและเปลืองค่าแอร์ ส่วนวัสดุแบบขุ่นแสงจะสามารถผ่านได้ 60-70 % (แล้วแต่ชนิดและความขุ่นของวัสดุ) ทำให้แสงผ่านได้บ้าง แต่ยังกรองแสงบางส่วน ซึ่งจะเหมาะกับโซนนั่งเล่นกึ่งกลางแจ้ง ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกควรศึกษาคุณสมบัติให้เหมาะสมกับการใช้งาน

มาทำความรู้จักกับการสร้างบ้าน 2 ชั้นกันบ้างว่าเป็นอย่างไร มีข้อดี และข้อควรระวังอะไรบ้างที่แตกต่างจากบ้านชั้นเดียว ถ้าพร้อมแล้วเรามาอ่านข้อดีและข้อควรระวังในการสร้างบ้าน 2 ชั้นไปพร้อมๆ กันเลยครับหากใครที่กำลังวางแผนจะสร้างบ้านหรือต่อเติมบ้านกันอยู่ แล้วลังเลว่าจะสร้างบ้าน 2 ชั้นหรือบ้านชั้นเดียวดีกว่ากัน อยากให้ลองเปรียบเทียบความต้องการ ไลฟ์สไตล์ จำนวนสมาชิก วัยของสมาชิกในบ้าน  และงบประมาณให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจนะครับ

การจัดสรรพื้นที่ที่แบ่งสัดส่วนได้ดีกว่าแบบบ้านชั้นเดียว

บ้าน 2 ชั้น

แน่นอนว่าพอพื้นที่บ้านถูกเพิ่มส่วนการใช้สอยให้มีระดับที่สูงขึ้นไปอีกหนึ่งชั้น พื้นที่ใช้สอยจึงสามารถทำการแบ่งสัดส่วนได้ทั้งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและบรรยากาศของพื้นที่ใช้สอย ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ส่วนที่เป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนรวมของครอบครัวหรือเป็นส่วนที่คนนอกสามารถเข้าถึงได้ก็จะถูกจัดไว้ที่ชั้นล่าง

ส่วนพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนตัวจะมีการถูกจัดสรรไว้อย่างมิดชิดที่ชั้นบน โดยมีโถงบันไดเป็นส่วนเชื่อมต่อของพื้นที่ทั้งสองระดับชั้น หรืออีกกรณีหนึ่งคือพื้นที่ที่อาจมีการใช้งานที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ส่วนอื่นๆเช่นห้องครัวและซักล้างที่อาจมีกลิ่น ควันและความชื้น หากมีการแยกส่วนให้อยู่ที่ชั้นล่างก็จะสะดวกต่อการดูแลรักษาความสะอาด หรือพื้นที่ห้องทำงานซึ่งต้องการบรรยากาศที่เงียบสงบก็ควรถูกจัดอยู่บนพื้นที่ชั้นสองเพื่อความเป็นส่วนตัวนั่นเอง

ราคาค่าก่อสร้างที่อาจสูงและบานปลาย

แน่นอนว่าบ้านสองชั้นเองถึงแม้จะแลดูโอ่อ่าและมั่นคงเหมาะสมกับการเป็นที่พักพิงของเรามากเท่าไร ก็ยังมีข้อด้อยที่อาจไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของครอบครัวเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงบประมาณค่าก่อสร้างที่มากกว่าการก่อสร้างบ้านชั้นเดียวค่อนข้างมาก โดยทั่วไปแล้วบ้านสองชั้นจะมีราคาค่าก่อสร้างอยู่ที่ 2-5 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นราคา

กลางขั้นต่ำที่ประเมินเบื้องต้นโดยสถาปนิกหรือผู้รับเหมาก่อสร้าง ทั้งนี้ราคาค่าก่อสร้างยังขึ้นกับสเปคของวัสดุและที่ดินนั้นๆด้วยหากคุณเป็นกังวลเรื่องของงบประมาณราคาค่าบ้าน เรามีไอเดียบุคที่จะช่วยไกด์คุณให้เลือกแบบบ้านสองชั้นราคาประหยัดได้ อยากรู้ก็คลิกตามลิงก์ด้านล่างนี้เลยบ้านชั้นเดียว

บ้าน 2 ชั้น

ความไม่สะดวกในการใช้งานของคนต่างวัยในครอบครัว

ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เจ้าบ้านควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการออกแบบบ้านและที่อยู่อาศัยที่ดีนั้นต้องคำนึงถึงการใช้งานและการอยู่อาศัยของสมาชิกทุกช่วงวัยภายในครอบครัว โดยเฉพาะกับเด็กและผู้สูงอายุซึ่งอาจมีความลำบากในการเดินขึ้นลงบันไดหรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นแล้ว ทางที่ดีในการออกแบบพื้นที่เชื่อมต่อของชั้นหนึ่งและชั้นสองอย่างโถงบันไดควรออกแบบให้ปลอดภัยทั้งระยะความกว้าง ราวกันตก ชานพัก หรือในบางบ้านอาจต้องมีการเผื่อพื้นที่สำหรับการติดตั้งลิฟท์รถเข็นสำหรับผู้สูงวัยด้วย

ข้อดีของบ้านสองชั้น

          1. เหมาะสำหรับผู้มีพื้นที่สร้างบ้านจำกัด: บ้านสองชั้นนับว่าตอบโจทย์อย่างยิ่ง หากคุณมีที่ดินขนาดเล็กแต่มีความต้องการพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านที่มากพอ สำหรับสมาชิกในครอบครัว แม้งบประมาณเริ่มต้นก่อสร้างจะสูงกว่าบ้านชั้นเดียว แต่บ้านของคุณจะได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่มอีกเป็นเท่าตัว จากขนาดที่ดินที่ใช้ก่อสร้างเท่า ๆ กัน ที่สำคัญคือ บ้านสองชั้นจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดินมากกว่าบ้านชั้นเดียว 

          2. เหมาะกับครอบครัวขนากลาง – ใหญ่: บ้านสองชั้นมีพื้นที่ใช้สอยมากและมีการแบ่งชั้นชัดเจน จึงสามารถจัดสรรพื้นที่ใช้สอยหรือห้องต่าง ๆ ได้อย่างเป็นสัดส่วน แม้สมาชิกครอบครัวจะมีหลายคน แต่ก็อยู่อาศัยได้โดยไม่อึดอัด

          3. การแบ่งสัดส่วนห้อง: สามารถแบ่งสัดส่วนห้องต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้งานได้ดีและสะดวกกว่า เช่น ชั้นบนก็ให้ความเป็นส่วนตัวอย่างสบายใจ ไม่โดนรบกวนจากสภาพแวดล้อม เสียง ฝุ่น และอากาศถ่ายเทได้ดี จึงควรออกแบบเป็นห้องนอน ห้องทำงานส่วนตัว  และหากบ้านไหนมีเฟอร์นิเจอร์หรือข้าวของเครื่องใช้เยอะ ยังสามารถแบ่งพื้นที่จัดเก็บได้ง่าย ดูเรียบร้อยหรือสะอาดกว่าบ้านชั้นเดียว

          4 ปลอดภัย: บ้านสองชั้นสามารถช่วยป้องกันอันตรายจากสัตว์เลื้อยคลาน แมลง และโจรผู้ร้ายได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังต้องระมัดระวัง โดยติดตั้งรั้ว และปิดบ้านให้เรียบร้อยอยู่เสมอ

บ้าน 2 ชั้น

ข้อเสียของบ้านสองชั้น

          1. ไม่สะดวกสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่นั่งวีลแชร์: บ้านสองชั้นส่วนใหญ่มีห้องนอนอยู่ชั้นบน อาจทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่นั่งวีลแชร์ต้องลำบากและเสี่ยงต่ออุบัติเหตุในการขึ้นลงบันได กรณีที่ทำห้องนอนไว้ชั้นล่างสำหรับผู้สูงอายุ หากเราพักอยู่ชั้นบนของบ้าน เมื่อท่านต้องการความช่วยเหลืออาจไม่สะดวกนัก สำหรับสมาชิกที่ต้องดูแลผู้สูงอายุแล้วนอนอยู่ห้องนอนชั้นบน

          การจะสร้างบ้านชั้นเดียวหรือบ้านสองชั้นนั้น แน่นอนว่า… ต้องดูการใช้งานของเจ้าของบ้านเป็นหลัก ทั้งในเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน สมาชิกภายในบ้าน พื้นที่ที่จะก่อสร้าง รวมไปถึงงบประมาณ และเมื่อทุกท่านตัดสินใจเลือกบ้านที่ “ฟังก์ชั่น” เหมาะกับการใช้ชีวิตของตัวเองได้แล้ว  น้องพีดี ก็ขอให้สนุกกับการ “ดีไซน์” บ้านให้สวยถูกใจนะครับ ก่อนจากกัน น้องพีดี ขอส่งท้ายไอเดียแบบบ้านชั้นเดียวและแบบบ้านสองชั้นสวย ๆ จากศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ รับรองได้ว่าสวยถูกใจแน่นอน! คลิ๊กที่นี่