
บ้านตัว L
บ้านตัว L

บ้านตัว L หากใครมีพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ และมีงบประมาณมาก ก็อาจจะวาดภาพการสร้างตัวอาคารขนาดใหญ่ให้เต็มพื้นที่ เพื่อจะใช้ประโยชน์จากที่ดินและอาคารในการอยู่อาศัยใช้ชีวิตให้มากที่สุด แต่เชื่อหรือไม่ว่าการเสียสละแบ่งที่ดินส่วนหนึ่งออก ทำเป็นที่ว่างเปิดโล่งออกสู่ท้องฟ้าสำหรับจัดสวน หรือเป็นโซนใช้งานกิจกรรมกลางแจ้ง
แม้จะลดพื้นที่อาคารลงแต่สิ่งที่ได้กลับมาคือความเป็นธรรมชาติที่ดีต่อทั้งอาคารและผู้อยู่อาศัย ที่ว่างยังลดความอึดอัดของสิ่งก่อสร้าง และเชื่อมต่อสายลม แสงแดด ต้นไม้ วิวได้มากขึ้น สร้างบรรยากาศให้บ้านดูสดชื่นมีชีวิตชีวามากกว่า
บ้านสองชั้นรูปตัว L ล้อมคอร์ทยาร์ด
บ้านสองชั้นหลังนี้ชื่อโปรเจ็ค AS HOUSE BDG ที่ตั้งอยู่ในเมือง Bandung City ชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีความโดดเด่นสะดุดตากับฟาซาดบานชัตเตอร์บนชั้นสองที่มองเห็นจากไกล ๆ เมื่อเข้ามาใกล้ ๆ จะเห็นการจัดแปลนอาคารที่วางเป็นตัว L จัดเป็นคอร์ทยาร์ดมีสวนน้ำหน้าบ้านที่กระจายความชุ่มชื่นได้เท่ากันทุกด้านและทุกชั้น เหนือช่องว่างนั้นทำ ซุ้มทางเดินล้อมรอบเป็นสี่เหลียมคอร์ทให้ต้นไม้เติบโดได้ ช่วยบังแดดฝนขณะเดิน เหนือทางเดินโรยกรวดเพื่อช่วยลดความร้อนจากหลังคาลงสู่ข้างล่าง และยังทำหน้าที่ลดการสะท้อนแสงของหลังคาด้วยบ้านสไตล์ทรอปิคอล
จากพื้นลานหน้าบ้านที่ปูด้วยแผ่นทางเดินสลับผืนหญ้าเขียวๆ สถาปนิกออกแบบให้โซนกลางแจ้งค่อยๆ ไหลมาเชื่อมต่อกับภายในได้อย่างแนบสนิท โดยการทำระดับของทางเดิน เฉลียง และตัวบ้านให้มีความสูงต่างกันน้อยที่สุด และมีประตูบานเฟี้ยมกรอบไม้บานใหญ่ที่เปิดออกได้กว้างตลอดแนวอาคาร เพื่อให้บ้านกับสวนเป็นเหมือนพื้นที่เดียวกันขนาดใหญ่ขึ้น

การออกแบบภายในเน้นความรู้สึกโปร่ง โล่ง ลื่นไหล เชื่อมต่อทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ในส่วนแนวนอนสถาปนิกจัดแปลนแบบ open plan ลดผนังที่จะแบ่งเป็นห้องเล็กห้องน้อย รวมพื้นที่และฟังก์ชันที่อยู่ด้วยกันได้เขาไว้ด้วยกัน
จากห้องนั่งเล่น ไปยังส่วนทานข้าวและครัว สามารถมองเห็นและเดินทะลุไปหากันได้หมด ส่วนการเชื่อมต่อแนวตั้งจะทำผ่านการเจาะโถงสูงเหนือส่วนนั่งเล่นและทานข้าว ซึ่งนอกจากจะทำให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นดีใกล้ชิดแล้ว ความสูงของเพดานยังเอื้อให้ความร้อนลอยตัวขึ้นสู้ที่สูงแล้วระบายออกภายนอกได้ดีขึ้นด้วย
ถึงบ้านจะเป็นโถงสูงก็ไม่ต้องกังวลว่าจะ service ระบบไฟและการทำความสะอาดยาก เพราะสถาปนิกใส่แนวตะแกรงเหล็กฉีกรอบกรอบอาคาร เพื่อให้ช่างสามารถขึ้นไปเดินข้างบนนั้นได้ที่พักรังสิต

บนชั้นสองสว่างไสวไปด้วยแสงจากธรรมชาติที่ส่องทะลุเข้ามาจากบานกระจกที่ใส่เอาไว้รอบทิศทาง บานหน้าต่างนี้เป็นระบบ 2 ชั้น มีระแนงไม้ที่ช่วยพรางสายตาเพิ่มความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยอยู่ด้านนอก และมีกระจกที่เปิดรับลมได้อยู่ด้านใน ซึ่งการใส่ระแนงไม้ทำหน้าที่คล้ายเหล็กดัดแต่ดูไม่แข็งกระด้างเข้ากันได้ดีกับธีมของบ้านที่เน้นสัมผัสของธรรมชาติ
ระเบียงบนชั้นสองหันหน้าเข้าหาคอร์ทยาร์ดในบ้าน เป็นมุมสบายที่สามารถออกมานั่งเล่นรับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้า นั่งดื่มกาแฟถ้วยโปรดพร้มชมต้นไม้และสวยน้ำ อยู่ในโซนส่วนตัวไม่ต้องกังวลสายตาผู้คนที่ผ่านไปมา
การทำหลังคาแบน (slab) แบบบ้านในสไตล์โมเดิร์นนั้น มีข้อดีหลายประการ อาทิ ก่อสร้างง่าย มีความทนทาน สามารถทำความสะอาดได้ หรือจะใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ดาดฟ้าขึ้นไปรับวิวรับลม จัดสวนลดความรุนแรงของแสงอาทิตย์ที่ส่องลงไปสู่ตัวบ้านได้ดี
แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน คือ หากเป็นพื้นคอนกรีตต้องมีการป้องกันปัญหาน้ำรั่วน้ำซึมที่ดี เพื่อไม่ให้มีการรั่วซึมลงไปถึงข้างล่าง หรือจะเปลี่ยนจากวัสดุคอนกรีตเป็นเมทัลชีทที่มีรอยต่อน้อยซ่อนด้านในก็ได้ ส่วนห้องที่อยู่เหนือหลังคาแบนมักจะได้รับแสงสะท้อนจากสีบนพื้นผิวหลังคาที่ไม่สบายตา ซึ่งสามารถแก้ไขโดยการจัดสวน roof garden หรือโรยกรวดบนหลังคาลดการสะท้อนของแสง เป็นต้น

1.เพิ่มความปลอดโปร่ง
การสร้างบ้านที่ไม่ได้สร้างเต็มสี่เหลี่ยมของขนาดแปลงที่ดินทั่วไป จะช่วยทำให้อากาศภายในบ้านเกิดการถ่ายเทได้สะดวกมากขึ้นตามหลักการของการถ่ายเทอากาศ ลมจะสามารถพัดผ่านเข้าบ้านต่อเมื่อมีช่องลมเข้าและช่องลมออก หากมีเพียงแค่ช่องใดช่องหนึ่งลมจะไม่เข้า ทำให้อากาศไม่ได้รับการถ่ายเท โดยเฉพาะแบบบ้านทั่วไปจึงมักถูกห้องอื่นบดบังช่องลมไป แต่หากเป็นบ้านตัว L การวังผังห้องจะไม่ไปซ้อนทับกัน จึงทำให้มีอากาศหมุนเวียนภายในบ้านโปร่งสบายขึ้น
2.เพิ่มพื้นที่สีเขียว
บ้านแบบตัว L นอกจากจะช่วยให้จัดสรรพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านได้แล้ว ยังมีพื้นที่เหลือเพียงพอสำหรับการจัดสวน ปลูกต้นไม้ใหญ่ ถ้าหากว่าเจ้าของบ้านยังพอมีงบประมาณเหลือมากพอก็สามารถที่จะสร้างสระว่ายน้ำเพิ่มเติมได้อีกด้วย โดยเฉพาะถ้าคุณนำแบบบ้านตัว L ไปสร้างเป็นบ้านพักตากอากาศที่มีวิวริมภูเขาหรือทะเล เพียงแค่วานแปลนของบ้านหันด้านข้างให้เหมาะสมกับทิศทางวิว ก็จะช่วยให้บ้านพักตากอากาศมองเห็นวิวได้สวยงามและเปิดกว้างมากขึ้น
3.เพิ่มทางเดิน ช่วยกันความร้อน
ทางเดินภายในของบ้านตัว L จะช่วยให้เกิดการสัญจรภายในบ้านได้อย่างสะดวก แล้วก็เป็นตัวช่วยในการบดบังแสงแดดได้เป็นอย่างดี ทำให้การอาศัยอยู่ภายในบ้านจะรู้สึกเย็นสบาย ส่วนถ้าเจ้าของบ้านต้องการให้มีที่นั่งเล่นริมระเบียงเพื่อชมสวน เหมาะกับการวางทางเดินไว้ฝั่งทิศตะวันออกหรือทิศเหนือเพื่อให้ช่วงกลางวันได้นั่งลมแดดได้ทั้งวัน แต่หากว่าเจ้าของบ้านใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ภายในห้องนั่งเล่นหรือห้องนอน ก็ควรเลือกทางเดินไว้ทางทิศใต้ ทิศตะวันตก เพราะทางเดินจะได้เป็นส่วนบดบังแสงแดดได้ดี

4.เพิ่มครัวในบ้าน
หากสร้างบ้านในรูปแบบปกติทั่วไปห้องครัวจะนิยมจัดไว้ในโซนที่อยู่ด้านหลังบ้าน ซึ่งอาจจะตั้งอยู่ติดกับด้านห้องใดห้องหนึ่ง แต่ถ้าเป็นบ้านแบบตัว L คุณสามารถที่จะแยกห้องครัวได้อย่างเป็นอิสระโดยเจ้าของบ้านอาจเลือกไว้ที่ฝั่งใด ฝั่งหนึ่งเป็นผังห้องครัว และกรณีที่คุณสร้างบ้านหลังไม่ใหญ่มากผังห้องที่วางไม่ซ้อนทับกับห้องใดๆก็จะทำให้เกิดอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพราะจะมีลมเข้าลมออกผ่านอยู่ตลอด ส่งผลให้ห้องครัวมีความโปร่งระบายกลิ่นจากการทำครัวได้ดีอีกด้วย
5.เพิ่มการจัดผังได้อย่างเป็นสัดส่วน
การวางผังบ้านที่เหมาะสมจะทำให้การอยู่อาศัยรู้สึกสบายเป็นส่วนตัวและผ่อนคลาย โดยเฉพาะถ้าสร้างบ้านเป็นแบบตัว L ซึ่งทางเดินภายในบ้านจะเป็นลักษณะเส้นตรง ผู้ที่อาศัยอยู่ก็จะสามารถเดินเข้าสู่ห้องต่างๆได้อย่างสะดวก สร้างความเป็นส่วนตัวได้ในระดับหนึ่ง เช่น การวางผังให้ห้องรับแขกแยกออกไปจากช่องทางเดิน
หากสมาชิกภายในบ้านกำลังมีแขกหรือนั่งพักผ่อนอยู่ภายใน เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวเดินผ่านก็จะไม่ทำให้รบกวนต่อกัน ซึ่งถ้าเป็นบ้านแบบทั่วไปที่ห้องรับแขกจะนิยมจัดวางไว้ตรงทางเดินเข้าบ้าน เวลาใครเดินเข้าออกก็จะรบกวนผู้ที่ใช้ห้องรับแขกเมื่อช่วงที่เดินผ่าน
6.เหมาะกับที่ดินหน้าแคบ
ปัจจุบันที่ดินแบ่งขายทั้งภายในตัวเมืองหรือชนบท หากซื้อแบบจัดสรรเป็นแปลงเล็กๆมักนิยมที่จัดแบ่งในแนวลึกและแคบ แต่สำหรับแบบบ้านตัว L จะช่วยให้จัดวางได้เหมาะกับแปลงที่ดินที่มีลักษณะแนวลึกได้อย่างลงตัว หากได้ที่ดินหน้าแคบมากๆ แนะนำว่าให้ออกแบบหัวตัว L ลดขนาดลงมาหรือออกแบบทางเดินให้แคบลงก็จะได้บ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยพอเหมาะ
7.แบบบ้านปรับแปลนได้ง่าย
การสร้างบ้านแต่ละหลังนอกจากความชอบของเจ้าของบ้านแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย เช่น งบประมาณและขนาดของที่ดิน ข้อดีของบ้านตัว L คือเราสามารถปรับขนาดให้ลงตัวกับโจทย์ความต้องการได้ โดยที่หน้าตาและรูปทรงบ้านไม่ได้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม อาทิเช่น แปลนบ้านเดิมวางไว้ที่หน้ากว้าง 12.3 เมตร แต่ติดปัญหาตรงหน้ากว้างที่ดินไม่เพียงพอจึงมีการปรับแก้ไขลงมาให้เหลือหน้ากว้าง 9.5 เมตร ก็ทำให้ลงตัวพอดีกับพื้นที่ได้อย่างไม่ดูอึดอัด
เชื่อได้ว่าหลายคนคงจะเริ่มมองว่าแบบบ้านตัว L สามารถตอบโจทย์ความต้องการอยู่อาศัยได้มากขึ้น เพราะนอกจากจะได้บ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยในขนาดพอเหมาะแล้ว เรายังได้บ้านที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นทำให้ชีวิตปรับสมดุลได้อย่างลงตัว ฉะนั้นถ้าใครกำลังคิดจะสร้างบ้านหลังใหม่อยู่ ก็ลองนำแบบบ้านตัว L ไปเป็นตัวเลือกอีกสักหนึ่ง เผื่อว่าคุณจะได้บ้านที่ถูกใจจริงๆก็ได้คะcheck here

